การรักษาต้อหิน

  • พิมพ์

photolibrary rf photo of glaucoma vision

          การรักษาต้อหินทำเพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการสูญเสียของชั้นประสาทตาจากโรคต้อหินเนื่องจากประสามตาส่วนที่เสียไปแล้วจะไม่สามารถกลับคืนมาได้ การรักษาในปัจจุบันทำโดยการลดความดันลูกตาเพื่อควบคุมโรคต้อหิน การลดความดันลูกตาสามารถทำได้โดย


การตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะต้อหิน เมื่อท่านไปพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยภาวะต้อหิน ท่านจะได้รับการตรวจสิ่งเหล่านี้

  • การตรวจวัดสายตา
  • การตรวจวัดความดันภายในลูกตา
  • การตรวจทางกายภาพของลูกตารวมถึงลักษณะของขั้วประสาทตาและเส้นประสาทตา ในบางกรณีอาจมีการใช้เครื่องมือเพื่อถ่ายรูปของขั้วประสาทตา
  • การตรวจลานสายตา


การใช้ยา ส่วนใหญ่ใช้เป็นยาหยอดตา อาจมียากินร่วมด้วยในบางกรณี ปัจจุบันมียาหยอดตาหลายชนิดที่ใช้ในการลดความดันตา ยาบางชนิดออกฤทธิ์โดยการลดการสร้างของเหลวภายในลูกตา ส่วนบางชนิดก็ออกฤทธิ์โดยการเพิ่มการระบายน้ำออกจากลูกตา ยาหยอดบางตัวอาจมีผลข้างเคียงได้ ผู้ป่วยต้อหินส่วนใหญ่สามารถควบคุมความดันตาได้โดยการใช้ยาหยอดยา บางรายอาจต้องใช้ยามากว่า 1 ชนิด นอกจากนี้ยังพบว่าประมาณ 70% ของผู้ป่วยมักจะต้องใช้ยาเพิ่มขึ้นภายในระยะเวลา 2 ปีหลังจากเริ่มรักษา

การผ่าตัด การผ่าตัดมักทำในกรณีที่ต้อหินไม่สามารถควบคุมได้โดยการใช้ยา หรือมีปัญหาบางประการที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาได้ การผ่าตัดทำได้โดย

การใช้แสงเลเซอร์  เป็นการใช้แสงเลเซอร์เพื่อเปิดทางระบายน้ำที่มุมตา

การผ่าตัดในห้องผ่าตัด โดยทั่วไปจักษุแพทย์จะทำการผ่าตัดที่เรียกว่า “Trabeculectomy” เพื่อทำทางระบายน้ำออกจากลูกตา นอกจากนี้ยังมีการผ่าตัดวิธีอื่นๆเช่นการฝังอุปกรณ์ที่เป็นตัวควบคุมการระบายน้ำออกจากลูกตา (Glaucoma drainage device) ส่วนผู้ป่วยรายใดควรได้รับการผ่าตัดแบบใดนั้นขึ้นกับข้อบ่งชี้ในแต่ละบุคคล