1. SKIP_MENU
  2. SKIP_CONTENT
  3. SKIP_FOOTER

ต้อหินกลุ่มต่างๆ

 

glaucoma

ต้อหินชนิดมุมเปิด 
            เป็นต้อหินชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด อาการมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ พบมากขึ้นในคนสูงอายุเนื่องจากโครงสร้างในการระบายน้ำออกจากลูกตามีการอุดตันและเสื่อมสภาพ ทำให้การระบายน้ำออกจากลูกตาได้ไม่เพียงพอ ความดันภายในลูกตาก็จะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ชั้นประสาทตาจะถูกทำลายโดยการสูญเสียของชั้นประสาทตานี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการใดๆเลยจนกว่าชั้นประสาทตาจะถูกทำลายไปมากแล้ว ต้อหินที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่

  • ต้อหินมุมเปิดชนิดปฐมภูมิที่มีความดันลูกตาสูง ( Primary open angle glaucoma )
  • ต้อหินชนิดที่มีความดันลูกตาปกติ ( Normal tension glaucoma )
  • ต้อหินในกลุ่มอายุน้อย ( Juvenile open angle glaucoma )
  • ต้อหินมุมเปิดที่เกิดตามหลังภาวะอื่นๆ ( Secondary open angle glaucoma ) เช่นหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับยาบางชนิดเป็นต้น

ต้อหินชนิดมุมปิด
           ต้อหินชนิดนี้อาจจะมีอาการเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากโครงสร้างในการระบายน้ำออกจากลูกตามีการอุดตันอย่างทันทีทันใด ดังนั้นความดันลูกตาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการที่จะเกิดขึ้นได้คือ ปวดศีรษะ ตามัว เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ และคลื่นไส้ อาเจียน ต้อหินชนิดนี้ถ้าไม่รักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ตาบอดได้อย่างรวดเร็ว การรักษาทำโดยการให้ยาลดความดันในลูกตาร่วมกับการยิงเลเซอร์เพื่อเปิดทางระบายน้ำของลูกตา ต้อหินในกลุ่มนี้ได้แก่

  • ต้อหินมุมปิดชนิดปฐมภูมิ ( Primary angle closure glaucoma )
  • ต้อหินมุมปิดแบบเฉียบพลัน ( Acute angle closure glaucoma )
  • ต้อหินมุมปิดที่เกิดตามหลังภาวะอื่นๆ ( Secondary angle closure glaucoma )

ต้อหินในกลุ่มเด็กเล็ก
          ต้อหินที่เป็นแต่กำเนิด ( Primary congenital / infantile glaucoma ) ต้อหินกลุ่มนี้พบในเด็กเล็กโดยพบมีอาการภายใน 2-3 ปีหลังคลอด ผู้ป่วยกลุ่มนี้เกิดมาพร้อมกับมีความผิดปกติทางด้านกายภาพของมุมตา ทำให้การระบายน้ำออจากลูกตาได้ไม่ดีความดันตาจึงสูงขึ้น ต้อหินในเด็กที่พบร่วมกับความผิดปกติในระบบอื่นๆของร่างกาย

 

Copyright @ 2012 www.metta.go.th All rights reserved.