เคล็ดลับง่ายๆ สร้างหัวใจให้แข็งแรง
- รายละเอียด
- สร้างเมื่อ วันอาทิตย์, 09 กันยายน 2555 21:55
- ฮิต: 4092
โรคหัวใจ เป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยไปเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญคือส่วนใหญ เป็นคนวัยทำงาน อายุระหว่าง 35-36 ปี ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว
จากสถิติของมูลนิธิโรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ รายงานว่าทุกๆ 9 นาที มีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด 1 ราย และเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังกลับไปพบว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นมากจาก ผู้ป่วย 100,000 คน มีอัตราการตาย 16 ราย แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 108 ราย
ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้ความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ และจากการศึกษาทำให้เราพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ มาจากเพศ อายุ และพันธุกรรม พบว่า
- เพศชาย จะมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายก่อนเพศหญิง 10 ปี
- เพศหญิงมีอัตราเสียชีวิตภายหลังการเกิดภาวะหัวใจวายร้อยละ 45 มากกว่าเพศชาย ซึ่งมีเพียงร้อยละ 25
- เมื่ออายุมากกว่า 65 ปี อัตราการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น
- อัตราการเกิดโรคจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ อายุที่เพิ่มขึ้น 10 ปี ในขณะเดียวกันอัตราการตายก็จะสูงขึ้นเช่นกัน
- พันธุกรรมมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ พบว่าผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจของคุณจะเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับทุกคน และดำเนินไปพร้อมกับชีวิตเรา แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัจจัยบางอย่างที่ควบคุมได้ และส่งผลต่อการเกิดโรคมากกว่าปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เสียอีก
ปัจจัยที่ควบคุมได้
ปัจจัยที่ควบคุมได้นี้เป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจมากเป็นพิเศษ และมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีญาติพี่น้องป่วย และ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ และมีอายุมากแล้ว แต่ไม่ได้เจ็บป่วยตามไปด้วย เคล็ดลับง่ายๆ ในการดูแลหัวใจของคุณให้แข็งแรง มีดังนี้
- รับประทานให้เหมาะสม รับประทานผัก ผลไม้ หรือธัญพืชให้มากขึ้น เลือกใช้ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ในการประกอบอาหาร เลือกดื่มนม หรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ เพิ่มการรับประทานอาหารประเภทปลา งดการรับประทานอาหารมันๆ จนสะสมคอเลสเตอรอลไว้ในเส้นเลือดปริมาณมาก
- ออกกำลังกายเป็นประจำ หลายคนมักให้เหตุผลว่าที่ ไม่ออกกำลังกายเพราะไม่มีเวลา หรืออ้วนมากเกินไป จนไม่อยากออกกำลังกาย เราอาจจะออกกำลังกายแบบง่ายๆ ด้วยการเดินวันละครึ่งชั่วโมง เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักตัวเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด ลดการสะสมคอเลสเตอรอลในเลือด
- ควบคุมน้ำหนัก น้ำหนักตัวที่เกินส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหลายประการ รวมทั้งส่งผลต่อการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
- ลดความเครียด หากแนวทางผ่อนคลาย เพราะความเครียดเป็นตัวบ่อนทำลายสุขภาพ และเพิ่มอัตราการเกิดความดันโลหิตสูง
- ลด ละ เลิก พฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ การใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า
นอกจากนั้นบุหรี่ยังไปทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีในกระแสเลือดลดลง เคล็ดลับง่ายๆ นี้จะช่วยทำให้ หัวใจของเราแข็งแรงได้ เพียงแต่เราต้อง “เริ่ม” เริ่มรักหัวใจและรักตัวเอง เพราะ”หัวใจ… มีค่ายิ่งกว่าอื่นใด”
ขอบคุณข้อมูลจาก : ข่าวสุขภาพ http://xn--22ca8fh7as8ce5c4j.com/uncategorized/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87/
How-to วิธีป้องกัน + แก้โรคข้อต่ออักเสบ
- รายละเอียด
- สร้างเมื่อ วันอาทิตย์, 09 กันยายน 2555 21:46
- ฮิต: 3598
นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 334
How-to วิธีป้องกัน + แก้โรคข้อต่ออักเสบ
1. หยุดกินอาหารแบบเก่าๆ คืออาหารประเภทแป้งขาว อาหารหวานๆมันๆ และขอให้หยุดดื่มเหล้าด้วย
2. ให้กินอาหารตามสูตรชีวจิต
3. ให้ออกกำลังกาย (รำตะบอง)
4. ทำดีท็อกซ์ด้วย
ก็มีคำถามตามมาอีกนั่นแหละครับว่า ทำไมพูดถึงการป้องกันสั้นนัก ต้องขออธิบายอีกแหละครับว่าที่พูดสั้นๆ นั้นเพราะหลักการปฏิบัติ 4 อย่างนั้น เราได้พูดไว้ในนิตยสารชีวจิตนี้โดยละเอียดหลายครั้งแล้ว เลยคิดว่าแฟนชีวจิตทั่วๆไปเข้าใจดีแล้ว
ที่เขียนสั้นๆ เพื่อเป็นการเตือนว่า อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำเดิมเท่านั้นเอง
อันที่จริง เรื่องการป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้อต่ออักเสบนั้น ก็รวมอยู่ในเรื่องห้าใหญ่และห้าเล็กอยู่แล้ว (ขออนุญาตไม่พูดซ้ำตอนนี้)
การปฏิบัติตัวตามห้าใหญ่และห้าเล็กนั้นต้องปฏิบัติตลอดไปจึงจะได้ผลดี ถ้าทำเพียงชั่วคราว ครั้งสองครั้งก็เลิกอย่างนั้น ไม่ได้ผลหรอกครับ
เอาละครับ ต่อไปนี้ถึงตอนสำคัญแหละครับว่า ถ้าการป้องกันอย่างที่พูดข้างบนนั้นไม่ได้ผล ขณะนี้เกิดป่วยขึ้นมาแล้วจะทำอย่างไรดี ตอบสั้นๆว่าเราต้องแก้อาการเฉพาะหน้าให้หายหรือทุเลาขึ้นเสียก่อน
ทำอย่างไรละครับ แก้อาการเฉพาะหน้า
ข้อแนะนำต่อไปนี้สำคัญสำหรับบางท่านที่ยังสนใจตัวเองอยู่ แต่แบ่งเวลามาดูแลตัวเองหรือทำอะไรให้ตัวเองไม่ได้ ขอแนะนำอย่างนี้ครับ ถ้าเริ่มรู้สึกเดินเหินไม่ค่อยสะดวก มีอาการเจ็บเข่า เจ็บหลัง เจ็บไหล่ บางครั้ง มีอาการนิดหน่อยแล้วก็หายไป อย่านอนใจ
ขอให้คุณเริ่มแก้ด้วยวิธีป้องกัน 4 ข้อที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยเฉพาะเรื่องการออกกำลังกายรำตะบองรีบทำให้ครบทุกท่า อย่างน้อยทำทุกวัน 14 วันจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นทันที ในขณะที่เริ่มรำตะบองก็ทำอย่างอื่นพร้อมกันไปด้วย คือเคร่งครัดเรื่องการกินอาหาร อย่าแตะของหวานหรือแป้งขาว ทำดีท็อกซ์พร้อมกันไปด้วย
วิธีแก้อาการปวดข้อต่ออักเสบ ท่านอาจารย์สาทิสบอกไว้อย่างละเอียด อยากรู้ว่ามีวิธีอะไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในคอลัมน์ “เปิดประตูหลังบ้าน” นิตยสารชีวจิต ฉบับ 334 (1 กันยายน 2555) ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิตhttp://www.cheewajit.com
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- รายละเอียด
- สร้างเมื่อ วันอังคาร, 28 สิงหาคม 2555 04:06
- ฮิต: 4153
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ( Inflammatory bowel Disease) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังเป็นกลุ่มอาการของภาวะการอักเสบของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก โดยส่วนมากแบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ Crohn’s disease และ ulcerative colitis ซึ่งความแตกต่างระหว่าง 2 แบบนี้ขึ้นกับบริเวณที่มีการอักเสบ กล่าวคือ Crohn’s disease จะมีการอักเสบทุกส่วนของระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะพบการอักเสบที่ลำไส้เล็กส่วน ileum ในทางตรงกันข้าม ulcerative colitis จะจำกัดการเป็นอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ และทวารหนักเท่านั้น.
BlockQuote AuthorLorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit. Maecenas a lorem. Morbi libero orci, luctus non, pharetra egestas, fermentum vitae, nunc.
ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออกปนมากับอุจจาระ น้ำหนักลด ร่วมกับอาการเหมือนกันที่ผู้ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ (Arthritis), โรคที่มีสาเหตุจากเนื้อเยื่อกลายเป็นเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว (Pyoderma gangrenosum) และโรคตับเรื้อรังซึ่งมีสาเหตุจากการอักเสบและเป็นแผลที่ท่อน้ำดีของตับ (Primary sclerosing chlolangitis) การวินิจฉัย โดยส่วนมากใช้วิธีส่องกล้อง และตัดชิ้นเนื้อเพื่อดูพยาธิสภาพของรอยโรค.