ถ้าจะถามว่า เครื่องดื่มที่คนนิยมดื่มกันมากที่สุดในปัจจุบันคืออะไร คนส่วนใหญ่คงนึกถึงกาแฟ แต่จริง ๆ แล้ว เครื่องดื่มที่มีผู้ดื่มมากที่สุดในโลกรองจากน้ำเลยทีเดียว ก็คือชาเป็นเครื่องที่มีกลิ่นหอม คนจึงนิยมดื่มกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น หรือชาว ยุโรป ชาที่นิยมดื่มในปัจจุบันอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชาจีน ชาเขียว และชาฝรั่ง ซึ่งชาแต่ละชนิดจะต่างกัน ตรงกรรมวิธีในการผลิต แต่ชาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากก็คือ ชาเขียว (geen tea)
ชาเขียวมีดีตรงไหน
แจ่มใส หายง่วง สามารถกระตุ้น ให้สมองสดชื่น ยังช่วยในการขับปัสสาวะ โดยไปกระตุ้นไตให้ขับน้ำปัสสาวะมากขึ้น และช่วยขยายหลอดลมอีกด้วย ในใบชาแห้งประมาณร้อยละ 20-30 โดยน้ำหนัก เป็นสารที่มีรสฝาดที่ใช้บรรเทาอาการ ท้องเสียได้ ดังนั้นหากต้องการดื่มชาเขียวให้ได้รสชาติที่ดีจึงไม่ควรทิ้งใบชาค้างไว้ ในกานานเกินไป เพราะแทนนินจะละลายออกมามาก ทำให้ชาเขียวมีรสขม แต่ถ้าหากดื่มชาเขียวเพื่อจุดประสงค์ ในการบรรเทาอาการท้องเสียก็ควรต้ม
ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ของกล้ามเนื้อหัวใจและขยายผนัง หลอดเลือด จึงทำให้ชาเขียวเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงด้วย
สารแคซิทิน (catecihns)ซึ่งเป็นสารแทนนินชนิดหนึ่งในชาเขียว มีฤทธิ์เป็นสารต้านการเกิดมะเร็ง ชาสามารถยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งรุนแรงได้ ซึ่งไนโตรซามีนนั้นเป็นสารที่เกิดจาก สารพวกดินประสิวในอาหารทำปฏิกิริยากับสารจำพวกโปรตีน ที่มีในเนื้อสัตว์และอาหารทะเลกลายเป็นไนโตรซามีนซึ่งก่อมะเร็งได้หลายชนิด ดังนั้นถ้านิยมบริโภคอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากก็ควรดื่มน้ำชาไปพร้อมๆ กันด้วย ก็จะช่วยลดการสร้างสารก่อมะเร็งลง
ในใบชายังมีปริมาณแร่ธาตุฟูลออไรด์สูง ซึ่งแร่ธาตุชนิดนี้เป็นส่วนในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน ให้แข็งแรง นักวิจัยจากศูนย์ทันตกรรมฟอร์ซีธในบอสตัน ยังได้แนะนำว่า การดื่มชาตอนเช้าช่วยในการป้องกันฟันผุได้ โดยถ้าคุณแช่ถุงชาหรือใบชาไว้นาน 3 นาทีก่อนดื่ม ชาจะสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้ฟันผุได้ถึงร้อยละ 95 จะเห็นได้ว่าการดื่มชาเขียวจึงน่าจะมีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุได้
ชาเขียวเป็นส่วนผสมในการปรุงแต่งกลิ่น รส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไอศกรีม หมากฝรั่ง (ดับ-กลิ่นปาก) และลูกอม
มีสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวสามารถช่วยชะลอความชราและคงความเยาว์วัยได้ (โอ้โฮ้! อะไรจะดีปานนั้น เริ่มดื่มตอนนี้ยังทันไหมเนี่ย) สารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวไม่เพียงแต่จะมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าวิตามินซีถึง 100 เท่า แต่ยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินอีอีกถึง 25 เท่าในการทำลายอนุมูลอิสระต้านโรคไขข้ออักเสบ กล่าวกันว่าชาเขียวช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูห์มาติก (rheumatoid arthritis) ที่มักจะเกิดกับสตรีวัยกลางคน อาการของโรคโดยทั่วไปคือ มีอาการของการอักเสบบวมแดง ปวด เมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ลดระดับคอเลสเทอรอลขณะที่กาแฟเพิ่มระดับคอเลสเทอรอล ชาเขียวกลับช่วยลดระดับ คอเลสเทอรอล สารแคเทชินในชาเขียวช่วยทำลายคอเลสเทอรอลและกำจัดปริมาณของคอเรสเทอรอลในลำไส้ แค่นั้นยังไม่พอ ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่พอดี อีกด้วย
ช่วยลดระดับ LDL คลอเรสเตอรอล และยับยั้งการก่อตัวแบบผิดปกติของ ก้อนเลือด ซึ่งเป็นเหตุของอาการหัวใจวายและลมชัก มักมีการเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้จากการดื่มชาเข้ากับ
ควบคุมน้ำหนัก ถ้าคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ การจิบชาเขียวสามารถช่วยได้ดีทีเดียว จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์พบว่า ชาเขียวช่วยเร่งให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารและไขมันมากขึ้น
ต่อสู้กลิ่นปากและแบคทีเรียในปาก การดื่มชาเขียวนอกจากจะทำให้ร่างกายอบอุ่นแล้ว ยังช่วยทำให้ลมหายใจสดชื่นและป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเพส สหรัฐอเมริกาพบว่า สารสกัดจากชาเขียวมีสรรพคุณในการต่อสู้กับแบคทีเรียโดยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ อันที่จริงแล้วพบว่าชาเขียวเป็นตัวช่วยยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากต่อสู้กับเชื้อไวรัสในปากโดยกำจัดเชื้อแบคทีเรียป้องกันฟันผุ ชาเขียวมีสรรพคุณช่วยป้องกันฟันผุโดยช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ชื่อ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดหินปูนที่มาเกาะฟัน รวมทั้งยังช่วยยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก
ที่มา http://www.geocities.com/jongtawee/menu2.htm
โพสโดย พาแรว
Metta Menu
Metta Poll
ความพึงพอใจต่อรูปแบบเว็บไซต์โรงพยาบาล
Total votes: 33
ความพึงพอใจในขั้นตอนการให้บริการผู้ป่วยนอกแผนก หู คอ จมูก (ENT)
Total votes: 201
รับข่าวทางE-mail
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
นพ.อาคม ชัยวีระวัฒนะ |
Metta Fanpage
นับจำนวนผู้มาเยี่ยมชม
เมื่อวานนี้156
สัปดาห์นี้438
เดือนนี้4481
รวมทั้งหมด1266710
Currently are 26 guests and no members online
Kubik-Rubik Joomla! Extensions
ประกาศช่องทาง การรับเรื่องร้องเรียน อ่านได้ที่นี่
ผังรับข้อร้องเรียน / แสดงความคิดเห็น อ่านได้ที่นี่
นโยบายและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ
นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศโรงพยาบาล
มี 38 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์