1. SKIP_MENU
  2. SKIP_CONTENT
  3. SKIP_FOOTER
  • ดูแลด้วยใจ หายได้ด้วยเทคโนโลยี
  • Metta International Eye Center
  • Technology
  • ยินดีต้อนรับ
ดูแลด้วยใจ หายได้ด้วยเทคโนโลยี

ดูแลด้วยใจ หายได้ด้วยเทคโนโลยี

ให้บริการด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ คลิกนิกตรวจโรคทั่วไป และ โรคทางจักษุวิทยา
Metta International Eye Center

Metta International Eye Center

ศูนย์โรคตาฯ (สาขาสุขุมวิท) เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 20.00 น. พร้อมให้บริการแล้ววันนี้
Technology

Technology

เครื่องมือมีความพร้อมและได้มาตราฐาน 
ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
Previous
Next

โรคตาบอดสี

blindness

โดย พญ.เพ็ญพิมล ยิ่งยง

1. ตาบอดสีที่รู้กัน หมายความว่าอย่างไรบ้าง?
          ตาบอดสีน่าจะหมายความว่าการมองไม่เห็นสี เห็นทุกอย่างเป็นดำกับขาว ซึ่งคนตาบอดสีแบบนั้นมีน้อยมากและมักจะเป็นคนที่สายตามัวมากจนมองไม่เห็นสี หรือคำว่าตาบอดสีแดง น่าจะมองไม่เห็นสีแดง แต่โดยความเป็นจริงแล้วตาบอดสีแดงไม่ได้หมายความว่าไม่เห็นสีแดง เพียงแต่เห็นวัตถุสีแดงแตกต่างจากผู้อื่นอาจเห็นเป็นสีเทาดำและโดยความเป็น จริงคนตาบอดสีแดงมักจะบอกชื่อสีแดงได้ถูกต้อง เพียงแต่เห็นไม่เหมือนคนทั่วไปทั้งนี้คนตาบอดสีแดงจะถูกสอนมาให้รู้ตั้งแต่ เด็กว่าวัตถุสีแดงนี้เขาเรียกว่าสีแดง คนตาบอดสีแดงจึงมักจะบอกสีแดงได้ถูกต้อง

2. เราสามารถมองเห็นสีต่างๆได้อย่างไร?
          การมองเห็นสีของวัตถุเป็นความสามารถอีกอย่างของตาคนเรา นอกเหนือจากการมองเห็นธรรมดา เรามองเห็นสีได้เพราะในจอตามีเซลล์รับรู้การเห็นสีต่างๆอยู่ 2 ชนิด

  • ชนิดแรก เป็นรูปร่างเป็นแท่ง มักกระจายอยู่ส่วนขอบของจอตา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นในที่สลัว ส่วนใหญ่ภาพที่เห็นจากเซลล์รูปแท่งนี้จะเป็นขาวกับดำตามระดับความสว่างที่แตก ต่างกัน จอตาของคนปกติจะพอมีเซลล์รูปแท่ง ทำให้คนเรามีการมองเห็นในเวลากลางคืนได้ในระดับหนึ่ง ผู้ที่มีโรคจอตาส่วนนี้ผิดปกติ หรือภาวะขาดวิตามินเอ จะทำให้เซลล์รูปแท่งนี้ถูกทำลายจึงเกิดภาวะที่เรียกว่า ตาฟางกลางคืน
  • ชนิดที่สอง มีรูปร่างเป็นกรวย จะอยู่หนาแน่นบริเวณจอตาส่วนกลาง ทำหน้าที่มองเห็นในที่สว่างและทำหน้าที่มองเห็นสีในที่ต่างๆได้ เซลล์รูปกรวยมีอยู่ 3 ชนิด ตามสีที่มีอยู่ภายในเซลล์ ได้แก่ เซลล์รูปกรวยสีแดง เซลล์รูปกรวยสีเขียว และเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน

3. ตาบอดสีเป็นกรรมพันธุ์หรือไม่?
          โรคตาบอดสีพบได้ประมาณ 8% ของประชากร แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ กลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิดและกลุ่มที่เป็นภายหลังกลุ่มแรกพบบ่อยกว่า และที่พบบ่อยที่สุดคือกลุ่มที่บอดสีแดงและเขียว ซึ่งพบได้ประมาณ 5-8%ในผู้ชาย และ0.5% ในผู้หญิง ส่วนกลุ่มที่เป็นภายหลัง มักเป็นการบอดสีน้ำเงิน – เหลือง เกิดจากการถูกทำลายของจอประสาทตา เส้นประสาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมอง การอักเสบ ภาวะขาดเลือด อุบัติเหตุ เนื้องอก การเสื่อมลงของจอประสาทตาหรือผลที่ข้างเคียงของสารเคมี ความผิดปกติของตาทั้งสองข้างนี้ไม่เท่ากันอาจเป็นตาเดียว หรือทั้งสองตามีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของความรุนแรงของโรค

ColourBlindness 4671f

4. จะรู้ได้อย่างไรว่าตาบอดสี?
          จะมีแผ่นภาพที่นิยมใช้และรู้จักกันดีในการตรวจคือ Ishihara chart เป็นแผ่นภาพที่เกิดจากวงกลมสีหนึ่ง เรียงตัวบนพื้นอีกสีหนึ่ง โดยเลือกสีที่คนตาบอดสีสับสน ระหว่าง สองสีนั้น คนตาบอดสีก็จะอ่านตัวเลข ไม่ออกและยังมีการทดสอบอย่างอื่นอีก ในกรณีซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม

5. อาชีพใดที่เป็นข้อจำกัดของตาบอดสี?
เภสัชกร นักเคมี วิศวกรไฟฟ้า นักบิน/ผู้ควบคุม คนขับรถไฟ อาชีพทอผ้าและพรม ช่างฝีมือที่ต้องการแยกสี ตำรวจ เป็นต้น

6. การรักษาทำได้อย่างไร?

  • กรณีที่ตาบอดสีเกิดจากกรรมพันธุ์ ไม่มีการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ ถึงโอกาสการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • กรณีตาบอดสีซึ่งเป็นภายหลัง ควรรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุเพื่อแพทย์จะให้การตรวจวินิจฉัยต่อไป

Copyright @ 2012 www.metta.go.th All rights reserved.