1. SKIP_MENU
  2. SKIP_CONTENT
  3. SKIP_FOOTER

โรคต้อกระจก

เขียนโดย : นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์

b2“นัยน์ตา” เป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของมนุษย์ เพราะนอกจากจะทำให้เราได้เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจากภาพที่มองเห็นแล้ว นัยน์ตายังสามารถแสดงความหมายแทนคำพูดได้อย่างมหัศจรรย์ ดังที่มีผู้กล่าวว่า “ภาพ 1 ภาพ มีค่ามากกว่าคำพูดนับพันคำ” เนื่องจากภาพที่เรามองเห็นจะมีความหมายสมบูรณ์อยู่ในตัวเองจนยากที่จะหาคำ บรรยายใดๆ มากล่าวแทนได้

ดังนั้นผู้ที่เกิดมามีความสมบูรณ์ครบทุกส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “นัยน์ตา” นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีความโชคดีอย่างมาก องค์ประกอบของนัยน์ตาทีทำให้เรามองเห็นนั้น ได้แก่

 

ตาขาว ซึ่งเป็นส่วนที่ปกคลุมพื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของด้านนอก มีลักษณะเป็นใยเหนียวยืดหยุ่นได้ เลนส์แก้วตา ซึ่งในคนปกติจะมีลักษณะใส ทำให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนเนื่องจากแสงส่องผ่านไปยังจอประสาทตาได้ดี นอกจากนี้ก็ยังมีม่านตา กระจกตาดำ จอประสาทตา และเส้นประสาทตา ทั้งนี้โดยแสงจากวัตถุที่ผ่านการหักเหจะส่งเข้ามาทางเลนส์แก้วตา กระจกตาดำทำให้เกิดภาพที่จอประสาทตา แล้วผ่านเส้นประสาทตาไปยังสมอง เพื่อแปรสัญญาณของสารที่ได้รับให้เป็นภาพที่มองเห็น

เมื่อคนเราอายุ มากขึ้น เลนส์ตาจะสูญเสียความยืดหยุ่นไปโดยธรรมชาติ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะต่างๆ ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลได้ชัดเจนเหมือนเดิม จึงเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุส่วนมากจะต้องใช้แว่นสายตาที่มีเลนส์สายตา 2 อัน สำหรับปรับระยะใกล้-ไกล โดยส่วนล่างของแว่นตาจะมีกำลังขยายสูงสำหรับมองระยะใกล้ และส่วนบนของแว่นจะใช้สำหรับมองในระยะไกล นอกจากนี้ในผู้สูงอายุโดยทั่วไปมักจะปรากฏอาการผิดปกติเกี่ยวกับสายตาอยู่ เสมอ ที่พบเห็นกันบ่อยที่สุด คือ “ต้อกระจก”

Copyright @ 2012 www.metta.go.th All rights reserved.